สถานการ์ณหลังสงครามโลกครั้งที่1

การล่มสลายของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในทวีปยุโรป

หลังสงคราม จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในทวีปยุโรปต้องล่มสลายไปถึง 4 จักรวรรดิ ได้แก่ จักรวรรดิรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ after world war 1





สนธิสัญญาแวร์ซายและสนธิสัญญาอีก 4 ฉบับ

ายหลังสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดเฉลิมฉลองชัยชนะที่ฝรั่งเศส ต่อมาได้มีการการประชุมสันติภาพปารีสของประเทศที่อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม ณ พระราชวังแวร์ซายโดยห้ามไม่ให้ฝ่ายมหาอำนาจผู้แพ้สงครามเข้าร่วมประชุม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ร่างสนธิสัญญาสันติภาพขึ้นโดยมีใจความว่า ให้จักรวรรดิเยอรมันต้องยินยอมรับผิดในฐานะผู้ก่อสงครามแต่เพียงผู้เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้ข้อตกลงข้อ 231 (ในภายหลังรู้จักกันว่า "อนุประโยคความรับผิดในอาชญากรรมสงคราม") และในข้อ 232-248 เยอรมนีถูกปลดอาวุธ ถูกจำกัดอาณาเขตดินแดน รวมไปถึงต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่กลุ่มประเทศฝ่ายไตรภาคีเป็นจำนวนมหาศาล เมื่อปี ค.ศ. 1921 ได้ประเมินว่ามูลค่าของค่าปฏิกรรมสงครามที่เยอรมนีจะต้องจ่ายนั้นสูงถึง 132,000 ล้านมาร์ก (ราว 31,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 6,600 ล้านปอนด์)  อันเป็นจำนวนที่มากเกินกว่าจะยอมรับได้และไม่สร้างสรรค์ และเยอรมนีอาจต้องใช้เวลาชำระหนี้จนถึง ค.ศ. 1988 เนื่องจากประเทศทั้งสองคือฝรั่งเศลและอังกฤษต้องการจะให้เยอรมันอ่อนแอไม่ให้กลับแข็งแกร่งมาต่อกรอีก ยกเว้นสหรัฐไม่ได้เข้าร่วมทำให้กลายเป็นสนธิสัญญาที่ดูไม่เป็นธรรมเลย ในตอนแรกว่าตัวแทนทูตจากเยอรมนีได้เห็นสนธิสัญญาฉบับนี้ว่ารุนแรงและเป็นที่ยอมรับไม่ได้จึงไม่พอใจมาก แต่ต่อมาเยอรมนีได้จัดตั้งสาธารณรัฐขึ้นใหม่หลังจากจักรวรรดิล่มสลายไปคือ สาธารณรัฐไวมาร์ ได้ตกลงที่จะยอมรับปฏิบัติตามสนธิสัญญาแวร์ซายทันทีทำให้เยอรมนีต้องอยู่อย่างอัปยศอดสู แต่อย่างไรก็ตามสนธิสัญญาแวร์ซายนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างสันติภาพแต่อย่างใดเลย หากเป็นบ่อนทำลายที่จะทำให้เกิดสงครามโลกปะทุอีกครั้งซึ่งได้กลายเป็นความจริงอย่างแน่นอน เพราะในอีกยี่สิบเอ็ดปีให้หลัง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ยึดอำนาจในสาธารณรัฐไวมาร์ได้สำเร็จ จากนั้นก็ได้ทำการฟื้นฟูทั้งการเมืองและกำลังทหารจนเข้มแข็งทำให้ละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายและรุกรานประเทศอื่นจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด
  1. นอกจากนั้น ยังมีสนธิสัญญาอื่นๆอีก 4 ฉบับที่ต้องทำกับเหล่าประเทศที่อยู่ฝ่ายมหาอำนาจผู้แพ้สงครามได้แก่สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ทำสัญญากับออสเตรีย
  2. สนธิสัญญาเนยยี-เซอร์-ไซน์ ทำสัญญากับบัลแกเรีย
  3. สนธิสัญญาตริอานอง ทำสัญญากับ ฮังการี
  4. สนธิสัญญาเซเวร์ ทำสัญญากับตุรกี (แต่ต่อมาขบวนการชาติแห่งตุรกีร้องเรียนไม่ยอมรับสนธิสัญญาฉบับนี้ ทางสัมพันธมิตรจึงร่างสนธิสัญญาใหม่คือ สนธิสัญญาโลซาน )

กำเนิดสันนิบาตชาติ

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เห็นว่าควรจะมีการจัดองค์การระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพปราศจากสงคราม ดังนี้นจึงจัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้นเพื่อป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการเจรจาและการทูต รวมทั้งพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น สิทธิแรงงาน ทาส ยาเสพติด การค้าอาวุธ ซึ่งนับเป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การแรกที่มีภารกิจในด้านนี้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากสันนิบาตไม่มีกองกำลังของตัวเองจึงต้องพึ่งพาชาติมหาอำนาจในการดำเนินการตามคำสั่ง สันนิบาตชาติจึงล้มเหลวในการป้องกันการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามจบถูกยุบไปและแทนที่ด้วยสหประชาชาติกระทั่งปัจจุบัน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สันนิบาตชาติ





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สงครามโลกครั้งที่2

สงครามโลกครั้งที่1